| จับแต่งตัวเรียบร้อยแล้ว | |  | สีสันอันน่าสนุกของ "น้องม้า" ในครั้งนี้ ได้ถูกถ่ายทอดอีกครั้งโดยพี่ๆ ใจดีจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตร ในงาน "เกษตรแฟร์" ที่เพิ่งจะผ่านพ้นไปไม่นานนัก โดยมีการนำ "ม้าแห่นาค" มาฮี้กั้บๆ เต้นระบำให้ได้ดูกัน เพื่อเผยแพร่ให้สังคมมีโอกาสได้เห็นสีสันวัฒนธรรมประจำถิ่นที่สวยงาม น่าสนใจ น่าศึกษา และน่าร่วมอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบไป น.สพ.ดร.วรกิจ เชิดชูธรรม คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน หนึ่งในผู้มีความรู้เรื่อง “ม้าแกลบ” และ “ม้าแห่นาค” ได้ขยายความว่า ม้าแกลบมีศัพท์ภาษาอังกฤษเรียกว่า pony เป็นม้าขนาดเล็ก เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างม้ามองโกเลียกับม้าเอเชีย และเข้ามาในประเทศไทยโดยชนกลุ่มน้อยที่อพยพมาจากประเทศจีนที่เข้ามาทางเขตภาคตะวันตกของไทย ทำให้ม้าแกลบกลายเป็นม้าพื้นเมืองของคนไทยถิ่นดังกล่าว โดยเฉพาะในบริเวณจังหวัดนครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี
|
| ฮี้กั้บๆ ตามจังหวะดนตรี | |  | นายสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องม้ารายนี้กล่าวต่อไปว่า การขี่ม้าเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมการเดินทางของไทยแต่โบร่ำโบราณ ในวันพิเศษหรือโอกาสพิเศษอย่าง "การบวช" ม้าจึงมีโอกาสเข้าร่วมในฐานะพาหนะของนาคเพื่อพานาคไปสู่วัดเพื่อเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ ...ตำนานแห่ง "ม้าแห่นาค" จึงเริ่มขึ้น “ม้าแห่นาค คือ ม้าเพศผู้ที่ยังไม่ทำหมัน และมีอายุ 2 ปีขึ้นไป ที่มีขนาดและความสูงประมาณ 12.2-14.2 แฮนด์ (1 แฮนด์เท่ากับ 10 ซม.) และมีน้ำหนักไม่เกิน 800 ปอนด์ หรือประมาณ 363.6 กิโลกรัม ม้าแกลบที่จะเป็นม้าแห่นาคได้ต้องผ่านการฝึกฝนให้รู้จักฟังเสียงดังๆ ได้โดยไม่ตื่นไม่สะบัดนาคให้ตกจากหลังหรือไม่เตลิดหายไป" นายสัตวแพทย์หนุ่มอธิบาย
|
| น้องม้าตัวเล็ก เด็กๆ ขี่ได้ | |  | น.สพ.ดร.วรกิจกล่าวถึงฝึกม้าเต้นนั้นส่วนมากใช้เวลา 2-3 เดือนก็จะนำเข้าร่วมงานบวช โดยเจ้าภาพของงานจะจัดหาม้าให้นาคได้ขึ้นนั่ง จากนั้นให้ม้าเต้นไปจนถึงอุโบสถโดยมีการใช้ม้าสลับกัน ครั้งละประมาณ 10-20 ตัวเลยทีเดียว ส่วนเครื่องตกแต่งม้าแห่นาคนั้น มีทั้งกำไลคอ กำไลข้อเท้า เครื่องตกแต่งอาน รวมไปถึงต้องตัดแผงคอให้โค้งสวย และสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือกระพรวนห้อยคอ เพราะเสียงกระพรวนจะให้จังหวะม้าในขณะเต้น "ลักษณะการเต้นของม้าแห่นาค เป็นหนึ่งเรื่องที่ถูกบรรจุอยู่ในสาขาวิชาศิลปะการบังคับม้าของคณะสัตวแพทย์เช่นกัน มี 2 ลักษณะ คือ การเต้นย่ำเท้าอยู่กับที่ในลักษณะยกเท้าหน้า-เท้าหลังที่อยู่ในแนวแทยงมุมหรือ เรียกว่า diagonal แล้วสลับกันกับอีกคู่ โดยเป็นลักษณะที่กีบเท้าม้าจะแตะพื้นแค่ 2 จังหวะเท่านั้น เรียกว่า “PIAFFE” และการเต้นย่ำเท้าที่การเคลื่อนที่ไปข้างหน้า เรียกว่า PASSAGE"
|
| "แนท" สาวผู้รักม้า | |  | น.สพ.ดร.วรกิจ ทิ้งท้ายด้วยว่า มก. ให้ความสำคัญและเน้นการพัฒนาชุมชนในเขตภาคตะวันตก รวมถึงขนบธรรมเนียมประเพณีของชุมชนด้วยเช่นกัน กิจกรรมการประกวดม้าพื้นเมืองมีการจัดเป็นประจำทุกปี “เราเริ่มจัดประกวดม้าแห่นาคตั้งแต่ปี 47 เพื่อส่งเสิรมให้คนรู้จักม้าแห่นาคมากขึ้นและเปิดโอกาสให้ชาวบ้านผู้เป็นเจ้าของม้าเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ และต่อไปเมื่อเรารู้ว่าชาวบ้านมีปัญหาเกี่ยวกับการเลี้ยงม้า เราจะได้นำอาจารย์และนิสิตลงพื้นที่เข้าช่วยเหลือได้ทันที เราได้มี “คลินิกม้า” ไว้รองรับม้าที่ได้บาดเจ็บหรือป่วยจากชุมชนใกล้เคียง และถือเป็นแหล่งประสบการณ์นอกห้องเรียนสำหรับนิสิตชั้นปีที่ 6”
|
| กว่าจะมาเป็น "ม้าแห่นาค" ที่สวยงาม ต้องประดับประดาด้วยพู่ไหมสีสด ตัดขนแผงคอให้โค้งสวยเป็นระเบียบ แต่งอานให้งดงาม สวมกำไลคอและข้อเท้าให้ครบเครื่อง | |  | ด้านนิสิตชั้นปี 5 คณะสัตวแพทย์ “แนท”-ณัฐวรรณ ไมยะ หนึ่งในผู้สนใจประเพณี “ม้าแห่นาค” กล่าวว่าม้าเป็นสัตว์เลี้ยงที่เธอชื่นชอบ จึงอยากที่จะศึกษาทุกอย่างที่เกี่ยวกับสัตว์ประเภทนี้รวมไปถึงประเพณีที่ม้าเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย “ม้าเป็นสัตว์เลี้ยงที่ชอบมาตั้งแต่เด็ก จึงตัดสินเรียนคณะสัตวแพทย์และเลือกเรียนทุกอย่างที่เกี่ยวกับม้า ไม่ว่าจะเป็นวิชาการบังคับม้า อายุรศาสตร์ม้า ระบบกายวิภาคม้า ที่ทำให้เราเรียนรู้สรีระของม้า และโรคต่างๆ ที่ทำให้สัตว์ชนิดนี้ป่วยและเสียชีวิตได้”
|
| จนออกมาสวยงามแบบนี้ | |  | สำหรับ “ม้าแห่นาค” นั้น แนทกล่าวว่าเป็นอีกหนึ่งความรู้ที่เธอเรียนรู้ได้ หลังจากที่ย้ายมาเรียนวิทยาเขตกำแพงแสนในช่วงชั้นปี 4 ซึ่งเป็นโอกาสดีที่ทำให้เธอได้ศึกษาและเรียนรู้สัตว์ประเภทนี้โดยตรง “ก่อนที่จะย้ายมาเรียนที่นี้ เรามีความรู้แค่ทักษะการม้าขี่เท่านั้น แต่พอได้สัมผัสกับคนเลี้ยงม้าที่เป็นชาวบ้านในชุมชนทำให้รู้ว่ายังมีอีกหนึ่งประเพณีที่นำม้ามาสร้างสีสีนให้กับงานมงคลต่างๆ จากที่เคยสัมผัสม้ามาตั้งแต่เด็ก เราพบแต่ม้าที่ได้รับการฝึกมาเป็นอย่างดี เชื่องและไม่เป็นอันตราย แต่สำหรับม้าแห่นาคที่ได้รับการเลี้ยงดูจากชาวบ้าน จะมีนิสัยใจคอที่ตรงกันข้ามคือ ค่อนข้างดื้อและเข้าหาได้ยาก เพราะส่วนมากม้าแห่นาคจะเป็นม้าเด็ก มีอายุน้อย ทำให้ต้องใช้เวลาฝึกนานถ้าจะให้เลือกม้าอายุมากที่ผ่านการฝึกมาใช้ในการบวช ก็จะทำให้ลักษณะการเต้นไม่ดีเท่ากับม้าเด็ก”
|
| หล่อแบบครบเครื่องก็ออกไปเดินโชว์เชฟได้ | |  | นอกจากนี้ อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้เธอรู้สึกแปลกไม่น้อยคือ บทลงโทษการฝึกม้าแห่นาค ซึ่งอาจจะรุนแรงในสายตาของผู้พบเห็น แต่บทสรุปของการกระทำดังกล่าว กลับเป็นที่เข้าใจดีว่า ม้าเชื่อฟังคำสั่งมากขึ้น และสามารถเต้นได้ดีก่อนที่จะเป็นส่วนหนึ่งของงานบวช “บางครั้งเห็นคนฝึกม้าใช้แส้ เชือก หรือข้อศอกกระทุ้งลำตัวม้า เพื่อให้มันนิ่งหรือสงบและฟังคำสั่ง ถือว่าเป็นภาพรุนแรงสำหรับคนรักสัตว์ แต่เราต้องทำความเข้าใจในเรื่องความปลอดภัยระหว่างคนกับม้า โดยเฉพาะนาค ผู้ที่ต้องขึ้นขี่ม้าก่อนเข้าอุปสมบท ดังนั้น บทลงโทษจึงจำเป็นเช่นกัน” สาวสวยผู้หลงรักม้ากล่าว
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น